Daily Archives: November 22, 2017

หลักการรักษาโรคเก๊าท์

การรักษาข้ออักเสบเนื่องจากการรักษาโรคเก๊าท์

ในระยะเฉียบพลัน และเป็นนานไม่เกิน 48 ชั่วโมง อาจให้โคซิซิน (Colchicine) 2-3 เม็ดต่อวัน ข้อจะหายปวดเร็วมากภายใน 2-3 วัน แล้วลดยาลงเหลือ 1 เม็ดต่อวัน ข้อดีของยาคือไม่กัดกระเพาะเป็นแผล ข้อเสียคืออาจเกิดอาการท้องเสียได้หากขนาดของยามากขึ้นไป ซึ่งหากมีอาการท้องเสียให้หยุดยานี้จนกว่าหายท้องเสียแล้วเริ่มกินยาใหม่ในขนาดที่น้อยลง

ยาอื่นๆ ที่ใช้ได้แต่ทุกตัวจะมีฤทธิ์ระคายกระเพาะอาหารมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่บุคคล จึงสมควรกินหลังอาหารเสมอ และอาจกินร่วมกับยาอัลมาเจล (Almagel) หรือ อลั่มมิลค์ (Alum Milk) แต่จัดว่าเป็นยาค่อนข้างปลอดภัย ได้แก่ ไอบลูโปรเฟน (Ibuprofen) , นาโปรเซน (Naproxen) , ซูลินแดค (Sulindac) , ไพรรคิซิคาม (Prioxicam) , อินโดเมธาซิน (Indemethacin) เป็นต้น โดยให้วันละ 3-4 เม็ดจนกว่าอาการทุเลาจึงลดขนาดยาลงจนหยุดยาไปภายใน 4-7 วัน

ไม่ควรใช้ยากลุ่มฟีนิวบิวตาโซน (Phenybutazone) และออกซิเฟนบิวตาโซน (Oxyphenbutazone) เพราะเสี่ยงกับการเกิดภาวะไขกระดูกไม่สร้างเลือด (Aplastic anemia) ได้โดยไม่จำเป็น เนื่องจากมียาอื่นที่ปลอดภัยกว่า และใช้ได้ผลดีดังกล่าว แต่ปรากฏว่าในท้องตลาดเมืองไทยยากลุ่มนี้ยายดีมาก เพราะมักถูกจัดอยู่ในยาชุดแก้ปวดข้อแบบครบจักรวาล แถมขนาดยาที่ผลิตนั้นมากจนอยู่ในขั้นอันตราย คือ ยาหนึ่งเม็ดมีขนาดเท่ากับยาสองเม็ดของต่างประเทศ จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าทำไมประเทศเราจึงมีผู้ป่วยโรคไขกระดูกไม่สร้างเม็ดเลือดมากมายเช่นนี้

ข. การป้องกันไม่ให้ข้ออักเสบกำเริบอีก

ยาที่ได้ผลดีมากคือ โคชิซิน วันละ 1-2 เม็ดตลอดไป สำหรับผู้ที่ข้ออักเสบบ่อยจนไม่สามารถทำมาหากินตามปกติได้ สำหรับผู้ที่นานๆ จะมีข้ออักเสบสักครั้งให้พกยาเม็ดติดตัว พอรู้สึกว่าข้อเริ่มอักเสบให้กินยาโคชิซิน 1 เม็ดทันที และซ้ำได้วันละ 2-3 เม็ดเป็นเวลา 1-2 วัน ยานี้หากกินแต่เนิ่นๆ จะป้องกันไม่ให้เกิดข้ออักเสบรุนแรงขึ้นแบบเต็มที่และทำให้หายปวดข้อได้เร็วมาก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาโรคเก๊าท์   ได้ที่ http://www.delicate-care.com/article/23